การตั้งค่าเริ่มต้นการใช้งาน DS-K1T320MFWX ผ่าน mobile client (AP Mode)

โพสเมื่อ 02/02/2024 16:18 | อัพเดท 16/03/2024 14:21

 

1. หลังจากทำการติดตั้งอุปกรณ์เสร็จแล้วให้ทำการจ่ายไฟให้อุปกรณ์ Access control ที่หน้าจอของอุปกรณ์จะขึ้นหน้าจอ to Realize Remote Configuration และจะแสดงชื่อ SSID พร้อมทั้ง password บนหน้าจออุปกรณ์ (สามารถกดปุ่ม ESC เพื่อตั้งค่าบนอุปกรณ์ได้) จากนั้นให้ใช้มือถือต่อเข้ากับ Hotspot ตามที่ขึ้นบนหน้าจออุปกรณ์ จากนั้นจะมีป๊อปอัพเด้งขึ้นในมือถือเพื่อทำการตั้งค่าอุปกรณ์ ถ้าไม่มีป๊อปอัพเด้งขึ้นให้เปิด web browser ในมือถือขึ้นจากนั้นพิมพ์ acsvis.com เพื่อเข้าสู่หน้าการตั้งค่า

คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลดคู่มือในรูปแบบ .pdf

หมายเหตุ ตัวเฟิร์มแวร์ของอุปกรณ์ต้องเป็นเวอร์ชั่น 3.5.2_230829 โดยสามารโหลดจากหน้าเว็บ https://www.hikvision.com/th/products/Access-Control-Products/Face-Recognition-Terminals/Value-Series/ds-k1t320mfwx/ และวิธีการตั้งค่าผ่าน mobile hotspot สามารถทำได้กับอุปกรณ์ในรุ่น value series ทั้งหมด

1

2. ให้ใส่ password activate ที่ต้องการลงทั้งสองช่องจากนั้นกด Activation จะมีป๊อปอัพเด้งขึ้นมาแจ้งว่า hotspot password หลังจากนี้จะเป็นอันเดียวกับ password ที่พึ่ง activate ไป

2

3. หลังจากนั้นหน้าจอมือถือจะเด้งเข้า Reset Password Wizard โดยจะให้ตั้งคำถาม-คำตอบ 3 ข้อให้ทำการตั้งตามชอบแล้วกด Next (กด Skip ถ้าไม่อยากตั้งค่า แต่เวลาลืม password จะทำให้ไม่สามารถใช้ตัวช่วยจากคำถาม-คำตอบได้) ถัดมาจะเป็นการตั้งค่าภาษาของอุปกรณ์ให้ทำการเลือกภาษาที่ต้องการแล้วกด Next

3

4. หน้าจอต่อไปจะเป็นการตั้งค่าเครือข่ายให้อุปกรณ์ให้ทำการตั้งค่า IP address ที่ต้องการหรือจะใช้โหมด DHCP ก็ได้แล้วกด Next และหน้าจอสุดท้ายจะเป็นการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวโดยสามารถเลือกเปิดปิดตามที่ต้องการได้ดังนี้

4

Select All – เลือกทั้งหมด

Upload Captured Picture When Authenticating – ทำการอัพโหลดรูปหลังจากมีการอนุญาตให้เข้าประตู

Save Picture When Auth. – ทำการบันทึกรูปหลังจากมีการอนุญาติให้เข้าประตู

Save Registered Picture – บันทึกรูปถ่ายของคนที่ลงทะเบียนไว้

Upload Picture After Linked Capture – ทำการอัพโหลดรูปที่อุปกรณ์ capture ไว้จากการทำลิงค์

Save Picture After Linked Capture – ทำการบันทึกรูปที่อุปกรณ์ capture ไว้จากการทำลิงค์

 

5. จะเสร็จสิ้นขั้นตอนการ activate และหน้าจอจะมีเมนูให้ตั้งค่าตามรูปด้านล่าง

5

6. ถ้าออกจากการตั้งค่าผ่าน AP แล้วตัวอุปกรณ์ access control จะปิดโหมดการทำงานนี้สังเกตุจากรูปด้านล่างหน้าจอจะไม่มีรูปเสาสัญญาณ ให้ทำการกดปุ่มเลข 5 ค้างไว้จนกว่ารูปเสาสัญญาณตามรูปขวาจะปรากฏจะเป็นการเปิดโหมด AP ของอุปกรณ์ จากนั้นให้ใช้มือถือต่อเข้ากับ Hotspot ที่ชื่อว่า AP_XXXXXXXX และใส่ password ที่ activate เข้าไปเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ เพื่อเข้าไปตั้งค่าต่างๆ

6

7. จากหน้าจอการตั้งค่าในส่วนของ Door Status สามารถสั่งการประตูได้โดยตรงโดยสามารถสั่งเปิด, ปิด, เปิดค้าง หรือ ปิดค้างได้

7

8. ให้ทำการตั้งค่าเวลาให้อุปกรณ์ก่อนโดยไปที่เมนูขีดสามขีดเพื่อเข้าหน้า configuration จากนั้นเลือก System Settings>Time Settings แล้วตั้งค่า Time Zone เป็น GMT+07:00 Bangkok จากนั้นกด Save

8

9. ก่อนทำการเพิ่มบุคคลในหมวด person ให้ทำการตั้งค่าแผนกที่ต้องการก่อนโดยไปที่เมนูขีดสามขีดเพื่อเข้าหน้า configuration จากนั้นเลือก Department Management จากนั้นกดปุ่ม + เพื่อเพิ่มแผนก ทำการพิมพ์ชื่อแผนกที่ต้องการในช่อง Department Name จากนั้นกดเครื่องหมายถูก แผนกที่เพิ่มจะไปอยู่ด้านล่างสุดของรายชื่อแผนก

9

10. ออกไปยังหน้าแรกของการตั้งค่าจากนั้นเลือกหมวด Person Management จากนั้นกดปุ่ม + เพื่อเพิ่มบุคคล ทำการใส่เลขรหัสพนักงาน, ชื่อพนักงาน, เลือกแผนก, ตั้งค่าวันหมดอายุของบุคคลนี้ปรกติค่าเริ่มต้นจะตั้งอายุไว้ให้ 10 ปี หรือเลือกเปิด Long-Term Effective User ถ้าต้องการให้คนนี้อยู่ถาวรไม่หมดอายุ และเปิด Administrator ถ้าต้องการให้คนนี้เป็น admin ดูแลระบบ

10

11. การเพิ่มรูปใบหน้าให้ทำการกด Face จากนั้นให้เลือก Choose file จาก Camera ถ้าจะทำการถ่ายภาพใหม่จากมือถือ หรือเลือกจาก Choose from Album ถ้าจะเลือกถาพที่อยู่ในเครื่องอยู่แล้ว หลังจากเลือกเสร็จให้กดปุ่ม Save สถานะตรง Face จะต้องเปลี่ยนเป็น Added

11

12. การเพิ่มข้อมูลลายนิ้วมือสามารถทำได้โดยกด Fingerprint จากนั้นกดปุ่ม + หน้าจอมือถือจะมีข้อความขึ้นมาบอกให้สแกนลายนิ้วมือลงบนอุปกรณ์ access control ให้ทำการทาบนิ้วที่ต้องการลงบนอุปกรณ์ access control โดยกดแล้วปล่อยทั้งหมด 3 ครั้ง ถ้าแสกนเสร็จจะปรากฏลายนิ้วมือที่สแกนเสร็จในรายชื่อลายนิ้วมือ สามารถใส่ได้สูงสุด 10 นิ้วต่อ 1 คน

12

13. การเพิ่มข้อมูลบัตรสามารถทำได้โดยกด Card จากนั้นกดปุ่ม + ถ้ารู้หมายเลขบัตรสามารถกรอกลงได้โดยตรงเลยแต่ถ้าอยากให้อุปกรณ์ access control อ่านค่าบัตรให้กดปุ่ม Read หน้าจอมือถือจะมีข้อความขึ้นมาบอกให้ทาบบัตรลงบนอุปกรณ์ access control หลังจากทาบแล้วจะได้ตัวเลขบัตรออกมาพร้อมกับมีป๊อปอัพขึ้นว่าอ่านค่าบัตรสำเร็จให้กด OK สามารถใส่ได้สูงสุด 50 บัตรต่อ 1 คน

13

14. ในกรณีที่อยากใช้ Pin/Password ในการให้สิทธิ์เข้าออก ต้องทำการเปลี่ยนการตั้งค่าเพื่อให้อุปกรณ์สามารถแก้ไข Pin จากอุปกรณ์โดยตรง โดยการกดปุ่ม Password Mode จากนั้นให้เปลี่ยนการตั้งค่าเป็น Device-Set Personal PIN แล้วกด Save จากนั้นถึงจะสามารแก้ไข PIN ในหน้า person ได้ ให้ทำการตั้งค่า PIN ที่ต้องการจากนั้นกดปุ่ม Save จะเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการเพิ่มคน ที่หน้ารายชื่อของ person management จะปรากฏคนที่พึ่งเพิ่มเข้าไปอยู่ในรายชื่อเรียงตามลำดับ

14

15. ในกรณีที่อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขฟังก์ชั่นการสแกนใบหน้า หรือลายนิ้วมือให้เข้าไปในหมวด smart จากนั้นเลือก Face Recognition Parameters เพื่อทำการตั้งค่าการสแกนใบหน้า, เลือก Fingerprint Parameters เพื่อตั้งค่าการสแกนลายนิ้วมือ หรือเลือก Face Mask Detection Parameters เพื่อตั้งค่าการสแกนใบหน้าขณะใส่หน้ากากอนามัย

15

16. เมนูการตั้งค่า Face Recognition Parameters จะมีเรื่องของการป้องกันการหลอกเครื่อง (Face Anti-spoofing) และการตั้งค่าความเหมือนต่างๆ ยิ่งตั้งค่า Matching สูง การตรวจสอบใบหน้ายิ่งมีค่าการยอมรับความผิดพลาดได้น้อยลง

16

17. เมนูการตั้งค่า Fingerprint Parameters ยิ่งตั้งค่า FAR สูงเท่าไหร่ การตรวจสอบลายนิ้วมือยิ่งมีค่าการยอมรับความผิดพลาดได้น้อยลง และสุดท้ายเมนูการตั้งค่า Mask Settings เปิดเพื่อให้อุปกรณ์สามารถตรวจสอลใบหน้าขณะใส่หน้ากากอนามัยได้ และค่า Threshold ยิ่งสูงค่าการยอมรับความผิดพลาดยิ่งน้อยลง

17

18. ในส่วนของเมนู Authentication Settings จะมีไว้ในการตั้งค่าการให้สิทธิ์เพื่อที่จะเข้าประตูของอุปกรณ์นี้โดยจะสามารถกำหนดได้หลากหลายรูปแบบตามรูปด้านล่าง

18

19. เมนู Door Parameter มีไว้สำหรับตั้งค่าการควบคุมประตูโดยค่าดั้งเดิมจะเปิดประตูหลังจากอนุญาติสิทธิ์เป็นเวลา 5 วินาที

19

20. สำหรับการเรียกดู Event log สามารถทำได้โดยไปที่เมนูขีดสามขีดจากนั้นกด Event Search เสร็จแล้วตั้งค่าวันเวลาที่ต้องการค้นหา หรือใส่เลขที่หรือชื่อพนักงานในกรณีที่ต้องการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง จากนั้นกดปุ่ม Search ระบบจะทำการโหลด Event log ออกมา สามารถกดดู Event แต่ละอันได้เลยเช่นเมื่อดู Event ที่เป็น Authenticated via Face หลังจากกดก็จะบอกรายละเอียดทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น วันและเวลา, ประเภทของเหตุการณ์, รหัสและชื่อพนักงาน, หมายเลขบัตร อีกทั้งยังสามารถกดดูรูปถ่ายหลักฐานในเมนู View Captured Picture (จะต้องเปิด Privacy ในข้อ 4 ก่อน)

20

21. การใช้งาน Time Attendance ให้ทำการตั้งค่าทั้งหมด 3 อย่างคือ Shift, Schedule และ Attendance Rule โดยให้เข้าไปในเมนู Time and Attendance ในหน้าแรกสุดของหน้าการตั้งค่า จากนั้นกด Shift Management แล้วกดเลือกมาสัก shift

21

22. ตั้งชื่อกะในช่อง Shift Name ตั้งเวลาการเข้างานในช่อง On-Work Time และเวลาออกงานในช่อง Off-Work Time จากนั้นเปิด Set Overtime ถ้าอยากให้ระบบคำนวนโอทีให้ จากนั้นตั้งเวลาเริ่มโอทีในช่อง Overtime Start Time และเวลาเลิกโอทีในช่อง Overtime End Time (เลือก Add Attendance Check Period ในกรณีที่อยากเพิ่มช่วงเลาในการเช็คชื่อเช่นอยากให้พนักงานเช็คชื่อออกและเข้าในช่วงเวลากลางวันด้วย)

22

23. จากนั้นตั้งค่า Schedule โดยเลือกกดที่ Schedule สักหนึ่งอันเสร็จแล้วทำการตั้งชื่อในช่อง Schedule Name, จากนั้นกด Department/Employee เพื่อกำหนดตารางเวลานี้ให้แต่ละแผนกหรือพนักงานตามแต่ที่ต้องการ โดยแผนกสามารถเลือกทั้งหมดหรือเลือกแยกแผนกได้ หรือเลือกแบบพนักงานก็สามารถกำหนดตารางเวลานี้ให้แต่ละบุคคลได้ จากนั้นเลือก shift ตามรูปแบบที่ต้องการ เสร็จแล้วกดปุ่ม Save

23

24. สุดท้ายทำการตั้งค่า Attendance Rule โดยโปรแกรมจะให้ตั้งค่าอยู่ 2 อันคือ เวลาที่เช็คอินได้ช้าที่สุดหน่วยเป็นนาทีก่อนที่ระบบจะถือว่าเป็นการมาสาย กับเวลาเช็คเอาท์ที่เร็วที่สุดหน่วยเป็นนาทีก่อนที่ระบบจะถือว่าเป็นการกลับก่อนเวลา จากนั้นกดปุ่ม Save เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการเช็ท Time Attendance

24

25. การเช็คดูประวัติการลงเวลาสามารถดูได้จากเมนู Attendance Statistics จากหน้าแรกของเมนูทั้งหมดโดยจะสามารถดูได้ทั้งแบบรายวันและรายเดือนโดยรายวันเมื่อมีการกดเลือกวันนั้นๆ จะมีข้อมูลสรุปรวมในวันนั้นๆ ว่ามีคนขาด ลา มาสายกี่คน ส่วนแบบรายเดือนจะเป็นการสรุปภาพรวมทั้งหมดภายในเดือนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเรื่องมาทำงานปรกติกี่คน มาสายทั้งหมดกี่ครั้ง กลับก่อน, ลืมเช็คชื่อ และขาดงานทั้งหมดกี่ครั้ง โดยสามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดได้ว่าใครคนใดเป็นคนขาดงานหรือมาสาย

25

26. การ export attendance report สามารถทำได้โดยการกดปุ่ม Export Report จากหน้า Attendance Statistics แบบรายเดือน โดยสามารถเลือกรูปแบบของรายงานได้ดังต่อไปนี้จากเมนู Select Report – Summary Report, Abnormal Attendance, Attendance Card, Attendance Record, Shift Schedule, Total Reports หลังจากนั้นให้ตั้งค่าวันเวลาที่ต้องการดึงข้อมูลจากนั้นกด Download Report

26

27. รูปด้านล่างเป็นตัวอย่างรายงานแบบต่างๆ

27

 

28

29

ติดต่อขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือขอคำแนะนำในการใช้งานต่างๆ โทร 02-940-2070 ext.3


RELATED ARTICLES