1. หลังจากทำการติดตั้งอุปกรณ์เสร็จแล้วให้ทำการจ่ายไฟให้อุปกรณ์ Access control จากนั้นให้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับ network เดียวกันกับอุปกรณ์ Access control เปิด web browser และพิมพ์ IP address ของอุปกรณ์เพื่อเข้าสู่หน้า WebUI Login ใส่ user name คือ admin และพาสเวิร์ดตามที่ตั้งค่าไว้ในขั้นตอนการ activate
2. ให้ทำการตั้งค่าเวลาให้อุปกรณ์ก่อนโดยไปที่เมนู configuration จากนั้นเลือก System Settings>Time Settings แล้วตั้งค่า Time Zone เป็น GMT+07:00 Bangkok เลือกตั้งค่า NTP server ถ้าต้องการใช้ จากนั้นกด Save
3. ทำการตั้งค่าแผนกที่ต้องการโดยไปที่เมนู Person Management แล้วกดปุ่ม +Add Department เพื่อเพิ่มแผนก
4. ทำการพิมพ์ชื่อแผนกที่ต้องการในช่อง Department Name จากนั้นกดปุ่ม Save แผนกที่เพิ่มจะไปอยู่ด้านล่างสุดของรายชื่อแผนก
5. หลังจากทำการตั้งค่าแผนกที่ต้องการเสร็จแล้วให้ทำการเพิ่มบุคคลโดยทำการคลิ๊กเลือกแผนกที่ต้องการจนชื่อแผนกขึ้นเป็นสีฟ้า จากนั้นกดปุ่ม +Add เพื่อทำการเพิ่มบุคคล
6. ทำการตั้งค่าดังต่อไปนี้ (1)รหัสพนักงาน ต้องไม่ซ้ำกับของเดิมที่มีอยู่แล้ว (2)ใส่ชื่อพนักงาน (3)เลือกแผนกที่ต้องการ โดยค่าเริ่มต้นจะเป็นแผนกที่เราเลือกไว้ก่อนกดปุ่ม add ในข้อ 5 (4)เลือกเพศ (5)เลือกว่าเป็นพนักงานธรรมดา, แขก หรือ บุคคลต้องห้าม (6)เปิดปุ่มนี้ถ้าต้องการให้เป็น user ถาวร (7)ตั้งเวลาที่จะให้ user นี้ active (8)เปิดปุ่มนี้ถ้าต้องการให้ทำหน้าที่ administrator (9)กดเพื่อเพิ่มรูปจากคอมพิวเตอร์ (การตั้งค่าผ่าน WebUI จะไม่สามารถเลือกถ่ายรูปผ่านอุปกรณ์ Access control โดยตรงได้ ถ้าต้องการถ่ายรูปสดให้ไปที่อุปกรณ์ Access control หลังจากที่ตั้งค่าบุคคลนี้แล้ว ดูคำอธิบายในข้อ 8-10)
7. การเพิ่มข้อมูลบัตรสามารถทำได้โดยกด (10)+ Add Card จากนั้นถ้ารู้หมายเลขบัตรสามารถกรอกลงได้โดยตรงเลยแต่ถ้าอยากให้อุปกรณ์ access control อ่านค่าบัตร (11)ให้กดปุ่ม Read จากนั้นให้ทาบบัตรลงบนอุปกรณ์ access control หลังจากทาบแล้วจะได้ตัวเลขบัตรในช่อง Card No. ให้กด OK เพื่อเพิ่ม การเพิ่มข้อมูลลายนิ้วมือสามารถทำได้โดย (12)กด +Add Fingerprint หน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีข้อความขึ้นมาบอกให้สแกนลายนิ้วมือลงบนอุปกรณ์ access control ให้ทำการทาบนิ้วที่ต้องการลงบนอุปกรณ์ access control โดยกดแล้วปล่อยทั้งหมด 3 ครั้ง ถ้าสแกนเสร็จจะปรากฏลายนิ้วมือที่สแกนเสร็จในรายชื่อลายนิ้วมือ (13)ทำการตั้งค่า PIN เพื่อใช้เป็น Password ในการเข้าอุปกรณ์ access control กรณีที่จะใช้การ access แบบ password ด้วย เสร็จแล้วกดปุ่ม Save
8. การเพิ่มรูปถ่ายจากอุปกรณ์ Access Control โดยตรงสามารถทำได้โดยเข้าเมนูเซ็ทอัพอุปกรณ์โดยการกดปุ่ม OK menu ค้างไว้จากนั้นสแกนใบหน้า ลายนิ้วมือ หรือใช้ card แตะ ในกรณีที่ได้ทำการตั้งค่า user administrator ไว้ แต่ถ้าไม่ได้ตั้งค่า user admin ไว้ให้กดปุ่มลูกศรขวา 1 ครั้งเพื่อเข้าหน้าใส่ password จากนั้นใส่ password ที่ใช้ activate อุปกรณ์เข้าไป จะเข้าสู่หน้าเมนูของอุปกรณ์จากนั้นไปที่หมวด User แล้วกดปุ่ม OK เพื่อเข้าเมนู
9. จากนั้นเลือก Person List แล้วกดปุ่ม OK จากนั้นเลื่อนหาบุลคลที่ต้องการเพิ่มรูปถ่ายแล้วกดปุ่ม OK
10. เลื่อนไปยังเมนู Face จากนั้นกดปุ่ม OK ให้พนักงานที่อยากจะเพิ่มรูปถ่ายยืนหน้ากล้องของอุปกรณ์ Access Control แล้วกดปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกภาพถ่าย
11. การตั้งค่าเกี่ยวกับ Access control ต่างๆ ให้ตั้งค่าในเมนู Configuration>Access Control จะแยกเป็น 3 แท็บคือ Authentication Settings, Door Parameters และ Terminal Parameters (1) สามารถตั้งค่า Authentication ได้หลากหลายรูปแบบตามรูปด้านล่าง (2)ส่วนการตั้งค่าให้ access control ทำการ recognize ทุกๆ กี่วินาทีสามารตั้งค่าได้ตรงนี้ (3)ใช้สำหรับตั้งค่าระยะห่างเป็นวินาทีในการให้สิทธิ์เข้าประตู (4)เปิดถ้าต้องการให้เกิด Alarm เมื่อสแกนไม่ผ่านเกินกี่ครั้ง (5)เปิดเพื่อให้เกิด Alarm เมื่อมีการงัดแงะอุปกรณ์ (6)เปิดถ้าต้องการให้ตัวเลขที่อ่านค่าได้จาก card อ่านแบบย้อนกลับหลัง ตั้งค่าเสร็จแล้วให้กด Save
12. เมนู Door Parameter มีไว้สำหรับตั้งค่าการควบคุมประตูโดยค่าดั้งเดิม (1)จะเปิดประตูหลังจากอนุญาติสิทธิ์เป็นเวลา 5 วินาที (2)กำหนดเวลาที่จะเกิด alarm ถ้าเปิดประตูทิ้งไว้เกินเวลานี้ (3)ตั้งค่าสถานะของเซนเซอร์ประตูว่าปรกติปิดหรือเปิด (4)ตั้งค่าสถานะปุ่ม exit ว่าปรกติปิดหรือเปิด (5)ตั้งค่าสถานะประตูขณะที่ไฟดับว่าปรกติปิดหรือเปิด (6)ตั้งค่าเวลาเปิดประตูของบุคคลที่ตั้งค่าการเปิดแบบ extended ไว้ (7)ตั้งค่าเวลาที่ประตูจะเปิดสำหรับบุคคลที่ตั้งค่า First person ไว้ (8)ตั้งรหัส Duress ประตูจะถูกเปิดด้วยรหัสนี้และมีการแจ้งเตือนไปยัง Client ว่าเกิดเหตุการณ์ขมขู่ (9)ตั้งรหัสที่สามารถเปิดประตูได้ทุกกรณี รหัสนี้ต้องไม่ซ้ำกับข้อ 8
13. ถ้าต้องการเปิดโหมด Encryption ของบัตร mifare สามารถเปิดได้จากหน้าเมนู Configuration>Card Settings>Card Type แล้ว enable M1 Card Encryption
14. การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวสามารถทำได้จากเมนู Configuration>Security>Privacy Settings โดยการตั้งค่าจะเป็นไปดังนี้ (1)ใช้สำหรับตั้งค่าการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ของตัวอุปกรณ์ (2)เลือกเพื่อแสดงผลบนหน้าจอขณะให้สิทธิ์ (3)ตั้งเวลาที่จะให้แสดงผล (4)ทำการบันทึกรูปหลังจากมีการอนุญาตให้เข้าประตู (5)ทำการอัพโหลดรูปหลังจากมีการอนุญาตให้เข้าประตู (6)บันทึกรูปถ่ายของคนที่ลงทะเบียนไว้ (7)ทำการบันทึกรูปที่อุปกรณ์ capture ไว้จากการทำลิงค์ (8)ทำการอัพโหลดรูปที่อุปกรณ์ capture ไว้จากการทำลิงค์ ตั้งค่าเสร็จแล้วกดปุ่ม Save
15. สำหรับการเรียกดู Event log สามารถทำได้โดยไปที่เมนู Maintenance and Security>Maintenance>Log เสร็จแล้วตั้งค่าวันเวลาที่ต้องการค้นหา หรือใส่ filter ประเภทเหตุการณ์ที่ต้องการจากนั้นกดปุ่ม Search
16. การใช้งาน Time Attendance สามารถทำได้สองแบบคือแบบ Local T&A และแบบ Platform Attendance โดยแบบ Local T&A การคำนวณ Time Attendance จะจบในตัวอุปกรณ์และสามารถแสดงผลรวม Dashboard โดยตรงจากหน้า WebUI ได้เลย แต่ในส่วนของ Platform Attendance เหมาะสำหรับเอาไปแสดงผลต่อใน Platform เช่น HikCentral Access Control หรือ HikCentral Professional
17. การตั้งค่า Local T&A สามารถทำได้โดยไปเปิดโหมดในเมนู Configuration>Attendance>Basic Configuration แล้ว enable Local T&A
18. จากนั้นให้ตั้งค่ากะจากเมนู Time and Attendance>Shift Management
19. เลือกแก้ไขกะที่ต้องการ ตัวอย่างด้านล่างเลือกมาจาก (1)Normal Shift2 (2)ทำการตั้งชื่อที่ต้องการ (3)ตั้งเวลาเข้าออกงาน (4)เปิดถ้าต้องการตั้งช่วงเวลาทำงานล่วงเวลาด้วย เสร็จแล้วกดปุ่ม Save
20. จากนั้นตั้งค่า Schedule จากเมนู Time and Attendance>Schedule จากนั้นกดปุ่ม +Add Schedule
21. ทำการตั้งชื่อในช่อง Schedule Name จากนั้นกดปุ่ม +Add เพื่อทำการเพิ่มพนักงานที่จะใช้ตารางเวลานี้โดยสามารถเลือกได้แบบทั้งแผนก และรายบุคคล เสร็จแล้วกดปุ่ม Next
22. ทำการ (1)เลือกวันที่ต้องการใช้ตารางเวลานี้แล้วทำ (2)การเลือกกะที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่ม Complete
23. สุดท้ายทำการตั้งค่า Attendance Rule จากเมนู Time and Attendance>Attendance Rule
24. โดยโปรแกรมจะให้ตั้งค่าอยู่ 2 อันคือ เวลาที่เช็คอินได้ช้าที่สุดหน่วยเป็นนาทีก่อนที่ระบบจะถือว่าเป็นการมาสาย กับเวลาเช็คเอาท์ที่เร็วที่สุดหน่วยเป็นนาทีก่อนที่ระบบจะถือว่าเป็นการกลับก่อนเวลา จากนั้นกดปุ่ม Save เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการเช็ท Time Attendance
25. การเช็คดู Summary Dashboard ของโหมด Local T&A สามารถทำได้โดยไปที่เมนู Attendance Report>Attendance Statistics โดยจะสามารถดูได้ทั้งแบบรายวันและรายเดือนโดยรายวันเมื่อมีการกดเลือกวันนั้นๆ จะมีข้อมูลสรุปรวมในวันนั้นๆ ว่ามีคนขาด ลา มาสายกี่คน ส่วนแบบรายเดือนจะเป็นการสรุปภาพรวมทั้งหมดภายในเดือนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเรื่องมาทำงานปรกติกี่คน มาสายทั้งหมดกี่ครั้ง กลับก่อน, ลืมเช็คชื่อ และขาดงานทั้งหมดกี่ครั้ง โดยสามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดได้ว่าใครคนใดเป็นคนขาดงานหรือมาสาย
26. การ export attendance report สามารถทำได้โดยไปที่เมนู Attendance Report>Summary Report โดยสามารถเลือกรูปแบบของรายงานได้ดังต่อไปนี้จาก (1)เมนู Summary Report, Abnormal Attendance, Attendance Card, Attendance Record, Shift Schedule, Total Reports หลังจากนั้นให้(2)ตั้งค่าวันเวลาที่ต้องการดึงข้อมูล จากนั้นกด (3)Export Excel เพื่อทำการดึงรายงาน
27. สำหรับการตั้งค่าแบบ Platform Attendance สามารถทำได้โดยไปที่เมนู Configuration>Platform Attendance จากนั้น Enable โหมด และทำการตั้งค่าตามนี้ (1)เปิดโหมด (2)เลือกโหมดการลงเวลา Manual คือทุกครั้งที่ทำการลงเวลาจะต้องเลือกว่าเป็นลงชื่อเข้าหรือออก Auto คือการลงเวลาจะเป็นไปตามช่วงเวลาที่ตั้งค่าไว้และตัวอุปกรณ์จะเลือกให้เองว่าเป็นการลงชื่อเข้าหรือออก Manual and Auto คือตัวอุปกรณ์จะเลือกให้เองว่าเป็นการลงชื่อเข้าหรือออกแต่สามารถเลือกเปลี่ยนเองได้อีกครั้งนึง (3)เปิดเพื่อตั้งตารางเวลา (4)ตั้งชื่อการลงชื่อเข้า (5)ตั้งชื่อการลงชื่อออก (6)กดเพื่อระบายแถบเวลา (7)ระบายแถบเวลาตามตารางการทำงานจริง (8)เปิดถ้าต้องการให้ลงชื่อเวลาพักผ่อนด้วย (9)เปิดถ้าต้องการคำนวนการทำงานล่วงเวลา จากนั้นกดปุ่ม Save
28. รูปด้านล่างเป็นตัวอย่างรายงานแบบต่างๆ
Summary Report (same as Total Report)
Abnormal Attendance
Attendance Card
Attendance Record
Shift Schedule