การจัดการความเร็วบนระบบเครือข่าย (Bandwidth Management)

โพสเมื่อ 25/11/2017 11:58 | อัพเดท 20/09/2021 08:29

การจัดการความเร็ว หรือ เรียกกันว่า Bandwidth ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการเครือข่ายต่างแข่งขันกันเรื่องความเร็ว ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลต่างๆในปัจจุบันก็มีขนาดใหญ่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดู Youtube แบบ Full HD หรือดูแบบ 4K ซึ่งข้อมูลการ Download จึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับขนาดของข้อมูล ซึ่งผู้ให้บริการต่างก็มีความเร็วแตกต่างกัน ราคาก็แตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนยิ่งความเร็วมากก็ยิ่งได้เปรียบผู้ใช้งานก็ยิ่งชอบ แต่บางครั้งหากภายในองค์กรมีขนาดเล็กแต่เลือกใช้ความเร็วมากก็เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป 

โดยส่วนใหญ่ตามบ้านความเร็วที่ผู็ใช้งานเลือกนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 50Mbps./20Mbps. (Download 50 Mbps./Upload 20Mbps.) ซึ่งเป็นความเร็วที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานภายในครอบครัว ซึ่งแน่นอนว่าจะมี Device ประมาณ 6-8 เครื่อง ในการใช้งานในแต่ละวัน ซึ่งสามารถใช้งานดู Youtube, Download File ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นองค์กรที่มีขนาด 10 คนขึ้นไป รับรองได้ว่าความเร็ว 50Mbps./20Mbps. เป็นความเร็วที่ไม่พอแน่นอน เพราะทุกคนมีอุปกรณ์ที่ต้องเชื่อมต่อสัญญาณเข้าระบบอย่างน้อย 1 เครื่อง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์, มือถือ, แท็ปเล็ต เป็นต้น ซึ่งอาจจะมี 3-4 คนดู Youtube พร้อมกัน หรือ อีกคนกำลัง Download File ขนาดใหญ่จาก Bit-Torrent เพียงแค่นี้ ก็จะทำให้ 50Mbps./20Mbps. ไม่เพียงพอแน่นอน

การแก้ปัญหานั้นก็จะต้องจัดการความเร็ว Bandwidth ให้กับระบบเครือข่าย เพื่อให้ทุกอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อสัญญาณสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง

CLICK

เราจะจัดการจำกัดความเร็ว Bandwidth ได้อย่างไร?

ก่อนที่เราจะทำการบริหารจำกัดความเร็ว Bandwidth นั้น เราต้องรู้ถึงอุปกรณ์ก่อนว่าอุปกรณ์ที่เรามีนั้นมีอะไรบ้างที่สามารถจำกัดความเร็ว Bandwidth ได้ เช่น

- Router หรือ Load Balance

- L2 Switch

- Access Point

- Internet Gateway (iBSG)

ซึ่งแต่ละอุปกรณ์มีหน้าที่จัดการความเร็วที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละอุปกรณ์

การจัดการความเร็วของแต่ละอุปกรณ์ต่างกันอย่างไร?

Router หรือ Load Balance ทั้งสองอุปกรณ์เป็นอุปกรณ์ด่านแรกที่ทำการเชื่อมต่อ Internet ซึ่งจะทำหน้าที่ในการใช้งานคล้ายกัน โดย

Router เป็นอปุกรณ์ที่ทำหน้าที่สำคัญที่สุดภายในบ้าน ซึ่ง Router บางตัวนั้นสามารถทำได้แบบ All-in-one ซึ่งหมายถึงทำหน้าที่ทั้ง Modem, Router, firewall, Access Point ซึ่งทำทุกอย่างเบ็ดเสร็จภายในตัวเดียว ซึ่ง Router แบบนี้ หากใช้งานภายในบ้านหรือองค์กรที่มีขนาด 5-10 คนก็พอไหว ซึ่งความเร็วที่ได้นั้นก็จะหารตามจำนวนผู้ใช้งาน (กรณีที่ผู้ใช้งานไม่มีการใช้งาน Bit-torrent) แต่หากผู้ใช้งานคนใดคนหนึ่งใช้งาน Bit-torrent รับรองได้ว่าผู้ใช้งานคนอื่นไม่สามารถใช้งานได้อย่างแน่นอน ซึ่งการจัดการโดยใช้ Router ตัวเดียวนั้น ไม่สามารถบริหารจัดการความเร็วให้มีประสิทธิภาพได้แน่นอน

Load Balance เป็นอุปกรณ์ที่สามารถรวมสายสัญญาณ Internet ที่มาจากผู้ให้บริการหลายวงจร มาเชื่อมต่อให้กับระบบ เนื่องจากอุปกรณ์ Load Balance สามารถรวม Link Internet ได้ 2 Link, 3 Link, 4 Link หรือ ทำลักษณะ Backup Link ก็ได้ หาก Link หลักไม่สามารถใช้งานได้ ให้ Link สำรองนั้นใช้งานแทน ซึ่งขึ้นอยู่กับอปุกรณ์ที่เลือกใช้นั่นเอง โดย Load Balance จะมีประสิทธิภาพการทำงานเหนือกว่า Router ทั่วไป โดยการเลือกใช้งาน Load Balance จะต้องคำนึงถึงจำนวน NAT Session เพื่อรองรับการทำงาน หาก NAT Session ไม่เพียงพอ อาจทำให้อุปกรณ์ Load Balance ไม่สามารถทำงานได้เช่นกัน โดยที่ Load Balance สามารถกำหนดการใช้งาน Bandwidth Upload/Download ได้ด้วย โดยขอยกตัวอย่างดังนี้

จากตัวอย่าง เรากำหนดให้ Load Balance กำหนด Bandwidth Upload/Download ที่ 4 Mbps./2 Mbps. ทุก IP Address ที่อยู่ใน Range 192.168.0.100 - 192.168.0.200 (ขึ้นอยู่ที่เรากำหนด) เมื่อ Client ได้รับ IP Address ชุดดังกล่าว Client จะสามารถเล่นได้เพียง 4 Mbps./2Mbps. เท่านั้น ซึ่งการกำหนดดังกล่าว อาจจะทำให้ CPU บนตัว Load Balance ทำงานหนักมากขึ้น หากใช้งานหลากหลายฟังก์ชั่นบนตัว Load Balance นั้นเอง (กรณีที่ไม่มี Internet Gateway ในระบบ)

L2 Switch เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สามารถกำหนด Bandwidth บน Port ได้ ซึ่งเป็นการกำหนดที่เหมาะสมกับ Device ที่เชื่อมต่อกับ PC Computer โดยตรง เพราะหากกำหนด Bandwidth ที่ Port ที่เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Access Point จะทำให้การใช้งาน Bandwidth บน Access Point โดยรวมทั้งหมดที่ Port นั้น เล่นได้ด้วย Bandwidth รวมที่เรากำหนดได้เท่านั้น ซึ่งหากมี Client หลาย Clinet จับสัญญาณบน Access Point นั้น จะทำให้ความเร็วการใช้งานของ Client ทั้งหมดนั้นลดลงทันที 

ตัวอย่าง การตั้งค่าความเร็วบน L2 Switch Download/Upload ที่ 2Mbps/4Mbps Port 6

ข้อเสีย การตั้งค่า Bandwidth บน L2 Switch นี้ คือการออกแบบระบบเครือข่ายที่ซํบซ้อนมากขึ้น หากผู้ดูแลไม่เข้าใจระบบที่ตนเองออกแบบ อาจจะทำให้แก้ปัญหาระบบเครือข่ายที่ช้าได้ยากขึ้นจนไม่สามารถหาสาเหตุที่ระบบช้าได้อย่างแท้จริง และจะทำให้ CPU บน L2 Switch ทำงานหนักมากขึ้นด้วย

Access Point อุปกรณ์ Access Point บางรุ่น สามารถทำการตั้งค่ากำหนด Bandwidth ให้กับ Client แต่ละ Device ได้เช่นกัน โดยสามารถกำหนด Traffic Shaping บน SSID หรือ กำหนดความเร็วต่อ Device เลยก็ได้เช่นกัน รวมถึง สามารถกำหนดจำนวน Client (Client Limit) ที่มาเชื่อมต่อบน Access Point ได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้การบริหาร Bandwidth บน Access Point มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเหมาะกับระบบที่มีผู้ใช้งานไม่มากเท่านั้น (ระบบที่ไม่มี Internet Gateway) 

การออกแบบ Traffic Shaping และ การกำหนดจำนวน Client (Client Limit) บน Access Point ซึ่งสามารถทำได้ แต่การออกแบบการทำงาน Traffic Shaping จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงาน Access Point ลดลงหากมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก

Internet Gateway เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบให้ทำงานกำหนด Bandwidth ให้กับ Client โดยตรง โดยสามารถกำหนดตามแต่ละ Policy อีกด้วย เช่น สามารถกำหนดระยะเวลาในการใช้งาน Internet, กำหนดปริมาณการใช้งาน Internet, กำหนด Bandwidth ที่สามารถใช้งานได้ ตัวอย่าง Policy ที่สามารถกำหนดได้ในแต่ละ Policy จะมีเงื่อนไขและที่ถูกกำหนดของตัวเองโดยจะถูกนำไปบังคับใช้กับ Account ที่อยู่ภายใต้ Policy นั้นๆ

- State – กำหนดสถานะ
      Active – ใช้งานได้
      Inactive – ไม่สามารถใช้งานได้
- Data rate – ความเร็วสูงสุดของแต่ละ Account
      Download – 8 Kbps – 100Mbps หรือไม่จำกัด
      Upload – 8 Kbps – 100Mbps หรือไม่จำกัด
- Transfer Quota – จำนวนรับส่งข้อมูลรวมที่สามารถใช้งานได้
- Usage Time – จำนวนเวลาการใช้งานรวมที่สามารถใช้งานได้
- Valid Period – ระยะเวลาที่สามารถใช้งานได้หลังจากเริ่มใช้งานครั้งแรก
- Idle Timeout – ระยะเวลาที่ระบบจะตัดการใช้งานเมื่อไม่มีข้อมูลรับส่ง

แล้วมีระบบอะไรที่สามารถบริหารจัดการ Bandwidth และ ตรวจสอบปริมาณการใช้งานกรณีที่มีหลายๆหน้างานที่มีขนาดเล็กที่ไม่มี Internet Gateway ไหม?

ezMaster เป็นระบบ Controller Management ที่ได้รับความนิยมในการใช้งาน และ ezMaster ยังสามารถใช้งานระบบในรูปแบบ Cross Network ได้อีกด้วย ซึ่งสามารถตรวจสอบปริมาณการใช้งานระบบ และ สามารถ Monitor อุปกรณ์ Access Point ได้ โดยที่หน้างานอาจจะไม่ต้องมี Controller ใดๆอยู่ด้วยเลยก็ได้

 

ขอยกตัวอย่างดังนี้

นาย ก. มีร้านกาแฟทั้งหมด 4 สาขา ซึ่งอยู่ที่ จ.เชียงราย 1 สาขา และมี สาขาที่ จ.เชียงใหม่อีก 3 สาขา ซึ่งแต่ละสาขามี Access Point จำนวน ทั้งหมด 2 ตัว นาย ก. สามารถตรวจสอบปริมาณการใช้งาน Internet ได้จากระบบ ezMaster ในระบบเดียว โดยนาย ก. ไม่ต้อง Access เข้าที่ตัวอุปกรณ์แต่ละสาขาเลย ซึ่งจะทำให้นาย ก. ได้ทราบรายละเอียด หรือ แก้ไขปัญหาระบบได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

 


RELATED ARTICLES